Posts

สมัยรัตนโกสินทร์

Image
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย การเมืองการปกครอง                           1.  สมัยรัชกาลที่ 7         1.1 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น 5 สภา คือ 1) อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชกากรแผ่นดิน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและมีความชำนาญในงานราชการมาแต่ก่อน 5 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จฯเจ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมาพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ 2) องคมนตรีสภา ช่วยทำหน้าที่บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา 3) เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับราชการกระทรวงต่างๆ 4) สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสารงานกับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ ต่างประเทศ มหาดไทย และพาณิชย์ เพื่อป้องกันประเทศ

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Image
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาณาจักรรัตนโกสินทน์ตอนต้น กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยฟื้นฟูบ้านเมือง รัชกาลที่ 1-3(ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325-2394) การสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี เมื่อขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) และสร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงย้ายราชธานี         1.พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง         2.ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตก หรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกขึ้นเรื่อยๆ         3.ความเหมาะสมต่อการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวางสามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้         4.กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น