สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อาณาจักรรัตนโกสินทน์ตอนต้น

กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยฟื้นฟูบ้านเมือง
รัชกาลที่ 1-3(ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325-2394)


การสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี
เมื่อขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) และสร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้
เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงย้ายราชธานี
        1.พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
        2.ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตก หรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกขึ้นเรื่อยๆ
        3.ความเหมาะสมต่อการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวางสามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
        4.กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดที่ข้าศึกยกทัพมาตามลำแม่น้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้โดยง่าย


วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

ลักษณะของราชธานีใหม่
กรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบกรุงศรีอยุธยากำหนดพื้นที่เป็นสามส่วนคือ
        1.บริเวรพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วังในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) และรวมทั้งทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง)
        2.บริเวรที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมืองประตูเมืองและป้อมปราการ สร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง
        3.บริเวรที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1 คือคลองมหานาค


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
        1.การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
1.1 สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือนมียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
1.2 สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนมียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
1.3 เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
(1) กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
(2) กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรม มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
(3) กรมคลัง หรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์หรือพระยาพระคลัง มีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
(4) กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว
        2. การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง
2.1 หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน) อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หั้วเมืองฝ่ายเหนือแบ่งตามฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้
(1) หัวเมืองชั้นใน (หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมืองหรือ“ผู้รั้ง”เป็นผู้ปกครอง
(2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
2.2 หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นสังกัดสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป จนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
2.2 หัวเมืองชายฝั่ทงทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหั้วเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลัง หรือกรมท่า


 การปกครองประเทศราช
3.1 ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด และส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม
3.2 ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมร และหั้วเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ


การปรับปรุงกฎหมาย
        1. กฎหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯโปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และคักลอดไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ตราราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
        2.กฎหมายตราสามดวง หรือประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่ จะมีการปฏิรูปกฎหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล

 

กฎหมายตราสามดวง
 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มฟื้นตัวในตอนปลายรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา และเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 3ผลผลิตทางการเกษตรและการค้าทางเรือสำเภากับต่างประเทศขยายตัวขึ้นมาก รายได้ของประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีที่มา 2 ทางดังนี้
        1. รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ มี 5 ประเภทได้แก่
1.1 การค้าสำเภาหลวง เป็นรายได้หลักที่สำคัญของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดนพระคลังสินค้า (หน่วยงานของรัฐ ขึ้นอยู่กับกรมคลัง หรือกรมท่า) ทำหน้าที่แต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน รองลงมา คือ ชวา มลายู และอินเดีย
1.2 กำไรจากการผูกขาดการค้า เป็นรายได้ของรัฐที่ทมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพระคลังสินค้า เป็นผู้ควบคุมการซื้อขายสินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม หรือทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างพ่อค้าไทยกับพ่อค้าชาวต่างประเทศ
(1) สินค้าผูกขาด คือ สินค้าที่รัฐ (พระคลังสินค้า) เป็นผู้ซื้อขายแต่เพียงผู้เดียวเพื่อความมั่นคงของประเทศ ห้ามมิให้ราษฎรซื้อขายสินค้าประเภทนี้ ได้แก่ อาวุธปืน กระสุนปืน ดินปะสิว
(2) สินค้าต้องห้าม คือ สินค้าที่หายาก มีราคาแพง และเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น งาช้าง รังนก หนังกวาง และไม้ฝาง ราษฎรไทยต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการก่อน มิให้นำไปขายให้พ่อค้าต่างประเทศโดยตรง
(3) อำนาจของพระคลังสินค้า พระคลังสินค้ามีอำนาจเลือกซื้อสินค้าจากเรือสำเภาชาวต่างประเทศได้ก่อนพ่อค้าเอกชน เรียกว่า การเหยียบหัวตะเภา เช่น เครื่องแก้ว พรม ผ้าแพร ฯลฯ สำหรับสินค้าต้องห้าม พ่อค้าไทยกับพ่อค้าขายต่างประเทศจะซื้อขายกั้นโดยตรงไม่ได้ แต่ต้องซื้อขายผ่านพระคลังสินค้า ซึ่งททำกำไรให้รัฐอย่างมากในฐานะพ่อค้าคนกลาง
1.3 ภาษีปากเรือหรือ ภาษีเบิกร่อง เป็นค่าธรรมเนียมซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดเทียบท่าในไทย โดยเก็บตามขนาดความกว้างของปากเรือ (หรือส่วนกว้างที่สุดของเรือ) คิดอัตราภาษีเป็นวา เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 เก็บจากเรือสินค้าอังกฤษวาละ 1700 บาท เป็นต้น
1.4 ภาษีสินค้าขาเข้า เรียกเก็บจากพ่อค้าชาวต่างประเทศที่นำสินค้าเข้ามาขายในไทย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เรียกเก็บจากพ่อค้าชาติตะวันตกร้อยละ 8 ของราคาสินค้าเป็นต้น
1.5 ภาษีสินค้าออก เรียกเก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของสินค้า เช่น ข้าวสาร หาบละ 1 สลึง และน้ำตาลหาบละ 2 สลึงเป็นต้น
        2.รายได้ภายในประเทศ เป็นรายได้ของรัฐที่ได้จากภาษีอากรภายในประเทศและมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มี 4 ประเภท คือ
2.1 จังกอบ คือ ภาษีค่าผ่านด่าน เรียกเก็บจากพ่อค้าที่นำสินค้าบรรทุกใส่ยานพาหนะและเดนทางผ่านด่านขนอน (ที่ตั้งเก็บภาษี) ทั้งทางบกและทางน้ำ ในอัตรา 10 หยิบ 1
2.2 อากร คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรในการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น อากรสวน อากรต้มกลั่นสุรา อากรค่าน้ำ (การจับสัตว์น้ำ) และอากรค่ารักษาเกาะ (การเก็บไข่เต่าและรังนก) เป็นต้น
2.3 ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินที่ราษฎรนำมาทดแทนแรงงานหรือทดแทนการเข้าเวรรับราชการ ถ้าเป็นสิ่งของได้แก่ ดีบุก พริกไทย มูลค้างคาว ฯลฯ
2.4 ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎร เป็นค่าบริการที่ทางราชการจัดทำให้ เช่น การออกโฉนดที่ดิน หรือ เงินค่าปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องจ่ายให้แก่ฝ่ายชนะ ซึ่งรัฐจะเก็บครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา


การปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ภายในประเทศเพิ่มเติม
การจัดเก็บภาษีอากร ประเภทจังกอบ อากร ส่วย และฤชา เป็นรายได้ภายในประเทศที่มีมาตั้งแต่สมันอยุธยา ครั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ภายในประเทศเพิ่มเติมดังนี้
1. เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นเงินที่ชาวจีนต้องเสียเพื่อทดแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเริ่มมีตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 (คนละ 1.50 บาทต่อ 3 ปี) ผู้เสียค่าราชกาลดังกล่าวแล้วจะได้รับการผูกปี้ข้อมือด้วยไหมสีแดง
2. เงินค่าราชการ เป็นเงินที่ไพร่หรือราษฎรชายชาวไทยต้องจ่ายแทนการเข้าเวรรับราชการ (แต่เดิมจ่ายเป็นสิ่งของ แทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เรียกว่า ไพร่ส่วย) ในสมใยรัชกาลที่ 3 กำหนดให้จ่ายตนละ เ8 บาทต่อปี ซึ่งเป็นผลดีต่อราษฎร ทำให้มีเวลาประกอบอาชีพส่วนตัวมากขึ้น
3. การเดินสวน เดินนา คือ การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจที่นาและที่สวนของราษฎรเพื่อเตรี่ยมจัดเก็บค่าอากรสวน อาการนาในแต่ละปี ในสมัยรัชกาลที่ 2 ค่าอากรมิได้เก็บเป็นเงินแต่เก็บเป็นข้าวเปลือกแทน ที่เรียกว่า “หางข้าว”
4. ระบบเจ้าภาษีนายอากร เป็นระบบการจัดเก็บภาษีอากรที่มีในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยทางราชการใช้วิธีเปิดประมูลตำแหน่งเจ้าภาษีในท้องที่หนึ่งๆ เอกชนผู้ได้รับตำแหน่งจะเป็นตัวแทนของทางราชการในการผูกขาดการเก็บภาษีอากรต่างๆจากราษฎรในท้องที่นั้นๆรายได้ส่วนหนึ่งส่งให้ทางราชการ และส่วนที่เหลือเป็นผลกำไรของเจ้าภาษี
ข้อเสียของระบบเจ้าภาษีนายอากร ผู้ประมูลตำแหน่างเจ้าภาษีนายอากรได้ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน มักขูดรีดภาษีประเภทต่างๆจากราษฎรมากเกินไป ทำให้ราษฎรเดือดร้อน ต่อมาถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 4


ผู้มีบทบาทสนับสนุนการค้ากับต่างประเทศ
        1.พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสนาบดีกรมท่า (กรมพระคลัง) ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีบทบาทส่งเสริมการค้าทางเรือสำเภากับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน จนได้รับขนานนามว่า “เจ้าสัว”
        2.ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงให้การสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง เป็นผลให้การค้าขายกับต่างประเทศขยายตัวอย่างกว้างขวางกว่า 2 รัชกาลแรก


การฟื้นฟูด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สรุปได้ดังนี้
        1.การดำเนินชีวิตของผู้คน ยังคงลักษณะที่คล้ายกับการดำเนินชีวิตของคนไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยพยายามรักษารูปแบบทางวัฒนธรรม ประเพณีเดิมในสมัยอยุธยาไว้
        2.ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในสังคมชนบท มีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม ครอบครัวคนไทยเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีสมาชิกในครอบครัวมากและยึดระบบอาวุโส
        3.ความแตกต่างในฐานะของบุคคลในสังคม มีการแบ่งชนชั้น เช่นเดียวกับสมัยอยุธยาเรียงตามลำดับ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ไพร่ และทาส สำหรับพระสงฆ์ถือว่าเป็น ชนชั้นพิเศษ ได้รับการเคารพนับถือ และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าออกได้ง่ายกว่าชนชั้นอื่นๆ


การควบคุมกำลังคน
        1.การควบคุมกำลังคนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงอาศัยระบบไพร่สมัยอยุธยาเป็นพื้นฐาน เนื่องจากเมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ใหม่ๆ ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนกำลังคนเป็นอย่างมาก เพื่อใช้ป้องกันบ้านเมืองและการก่อร่างสร้างราชธานีแห่งใหม่ การควบคุมกำลังคนโดยใช้ระบบไพร่จึงมีความสำคัญมาก
        2.ระบบไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลดการควบคุมที่เข้มงวดลง เนื่องจากการค้ากับต่างประเทศขยายตัว ความจำเป็นต้องให้แรงงานมีเวลาประกอบอาชีพอิสระเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตภาคเกษตรกรรมสำหรับการส่งออก การเกณฑ์แรงงานไพร่จึงลดเวลาลง เช่น สมัยรัชกาลที่ 2 ลดเหลือเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น


โครงสร้างชนชั้นของสังคมไทย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโครงสร้างชนชั้นของสังคมไทยยังคงคล้ายกับสมัยอยุธยา กล่าวคือ ประกอบด้วย 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือชนชั้นปกครอง 
(พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ) และชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง(ไพร่และทาส) ซึ่งแบ่งการพิจารณาเป็น 5 ชนชั้นโดยละเอียด ดังนี้
        1.พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดของสังคมไทย แต่บทบาทของพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น ลักษณะของความเป็นเทวราชาตามคติความเชื่อของศาสนาพรามณ์ลดลงและมีลักษณะเป็นธรรมราชาตามหลักพรพุทธศาสนาเข้าแทนที่ เช่น 
รัชกาลที่ 2 ทรงห้ามทหารยิงลูกตาราษฎรที่มองพระมหากษัตริย์ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่าน
รัชกาลที่ 3 โปรดฯให้ราษฎรตีกลองถวายฎีการ้องทุกข์ได้
        2.พระบรมวาศานุวงศ์ หรือ เจ้านาย เป็นชนชั้นที่สืบเชื้อสายจากรพมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีอำนาจรองลงมาจากพระมหากษัตริย์คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ซึ่งเป็นตำแหน่งมหาอุปราช
        3.ขุนนาง หรือข้าราชการ ทำหน้าที่บริหาราชการและควบคุมราษฎรแทนพระมหากษัตริย์
        4.ไพร่ คือ ราษฎรชาวไทย ทั้งชายและหญิง เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมไทย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และต้องถูกเกณฑ์แรงงานหรือเข้าเวรรับราชการ
        5.ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ไม่มีอิสระภาพ ต้องทำงานให้นายเงินของตนแต่ไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเหมือนไพร่


บทบาทของชาวจีนในสังคมไทย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นชาวจีนอพยพเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมไทยมีบทบาทสำคัญดังนี้
        1.อาชีพส่วนใหญ่ของชาวจีน คือ การค้าขาย ทางราชการให้การสนับสนุน ทั้งการค้าขายภายในราชอาณาจักรและการค้ากับต่างประเทศ โดยให้สิทธิเดินทางและตั้งถิ่นฐานได้ทั่ว พระราชอาณาจักร และไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ชาวจีนจึงเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก
        2.ชาวจีนมีความสามารถในการสะสมทุนทรัพย์และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว จึงมีความสัมพันธ์กับเจ้านายและขุนนางไทย ในลักษณธอุปถัมภ์เกื้อกูลผลประโยชน์กัน เช่น การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าภาษีนายอากร หรือการเกี่ยวดองเป็นเครือญาติโดยการสมรส ทำให้ฐานะทางสังคมของคนจีนสูงขึ้น


การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงสนพระทัยทะนุบำรุงกิจการพระศาสนาให้รุ่งเรือง นับเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของยุคสมัยนี้ สรุปได้ดังนี้
        1.การสังคายนาพระไตรปิฎก ใน พ.ศ.2331 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ชำระสะสางคัมภีร์พระไตรปิฎก จัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยให้เป็นระเบียบและให้จารึกลงใบลาน คัดลอกเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ หรือฉบับทองหีบ
2.การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์และกวดขันพระธรรมวินัย รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองสงฆ์ขึ้นหลายฉบับ ช่วยให้ความวุ่นวาย สับสน และแตกแยกความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งมีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้สิ้นสุดลงและในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯให้กวดขันความประพฤติของพระสงฆ์ ถ้ารูปใดย่อหย่อนในพระธรรมวินัยก็ให้จับสึกเสีย
3.การส่งสมณฑูตไปลังกา ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการแลกเปลี่ยนสมณฑูตไทยกับลังกา เพื่อตรวจสอบกิจการของพระศาสนาทั้งสองฝ่าย มีการนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา 6 ต้น มาปลูกในไทย และในสมัยรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์ไทยได้เดินทางไปตรวจสอบพระไตรปิฎหฉบับของลังกา เพื่อชำระแก้ไขให้ถูกต้องตรงกัน 
4.การสถาปนาธรรมยุตินิกาย ในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4) ได้เสด็จออกผนวช และศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ได้ทรงประกาศตั้งฝ่ายคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า ฝ่ายธรรมยุตินิกาย เมื่อ พ.ศ.2372 ส่วนคณะสงฆ์ที่มีอยู่เดิม เรียกว่า ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน
5.การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัด รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 3 มีการสร้าง และ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่ารงๆ รวมถึง 53 วัด มากกว่าในรัชกาลก่อนๆเนื่องจากเศรษฐกิจดี
5.1วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้สฯให้สร้างขึ้น เป็นวัดในเขต พระบรมมหาราชวัง และเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต
5.2วัดสุทัศน์เทพวราราม สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 เช่นเดียวกัน เป็นที่ประดิษฐานของ พระศรีศากยมุนี หรือ พระโต
5.3วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นวัดเก่า มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ 2 ครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 3 เป็นที่รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ ยาแก้โรคตำราหมอนวด และบทกวีนิพนธ์ต่างๆ โดยจารึกไว้บนแผ่นศิลาตามเสา และผนังรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า วัดพระเชตุพนฯ จึงได้ชื่อว่าเป็นวิทยาลัยแก่งแรกของไทย
5.4วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระอุโบสถใหม่ มีพระปรางค์องค์ใหญ่ที่มี่ความสวยงามเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน


การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และศิลปกรรม
        1.การฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองสมัยรัตนโกสินทร์ให้เทียบเท่ากรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1-3 ทรงมีพระราโชบายที่จะสร้างกรุงเทพฯ ราชธานีแห่งใหม่ให้ใหญ่โตสวยงามเช่นเดียวกับกรุงเก่า เพื่อธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง
1.1การสร้างพระราชวังและวัดวาอารามได้ยึดถือตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาใช้แผนผังพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก
1.2ประเพณีการสร้างวัดในเขตพระบรมมหาราชวัง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำนองเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่กรุงศรีฯ ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา โดยไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษา
        2.การฟื้นฟูพระราชพิธีต่างๆที่เคยมีมาในสมัยอยุธยา ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีตรียังปวาย (โล้ชิงช้า) และพระราชพิธีวิสาขบูชา เป็นต้น
        3.งานสถาปัตยกรรม มีความเจริญรุ่งเรืองสวยงามประณีตเสมอกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ 
3.1พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
3.2วัดประจำองค์พระมหากษัตริย์ ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ (รัชกาลที่ 1) วัดอรุณราชวราราม (รัชกาลที่ 2) และวัดราชโอรสฯ(รัชกาลที่ 3)
        4.งานศิลปกรรมแขนงอื่นๆ เป็นผลงานของ”ช่างสิบหมู่” เช่น เครื่องราชูปโภคขององค์พระมหากษัตริย์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ราชรถ ตู้พระไตรปิฏกลายรดน้ำ และเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ ฯลฯ
        5.งานจิตกรรม งานจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเลียนแบบสมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากภาพวาดในพระอุโบสถหรือพระวิหารของวัดวาอารามต่างๆ ซึ่งมักเป็นภาพเทพชุมนุม ภาพพุทธประวัติ หรือ ทศชาติชาดก เป็นต้น 
5.1 งานจิตกรรมมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 3 มีผลงานปรากฏอยู่มาก แต่จะมีอิทธิพลของศิลปะจีนแทรกเข้ามา เนื่องจากมีการค้าขายติดต่อกับจีนตลอดรัชกาล
5.2 จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 3 คือ หลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) และ คงแป๊ะ (ครูคง) มีผลงานปรากฎที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม วัดสุทัศน์เทพวรารามปละวัดบางยี่ขัน
        6. นาฏศิลป์และดนตรีไทย มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 2 เพราะ ทรงเป็นกวีและศิลปิน จึงทรงพระทัยให้การทะนุบำรุงอย่างจริงจัง
        7. งานส่งเสริมวรรรณกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราชสำนักมีฐานะเป็นศูนย์กลางชุมนุมวรรณกรรมและกวี มีทั้งองค์พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และกวีสามัญชน เช่น รัชกาลที่ 2 และสุนทรภู่ เป็นต้น ซึ่งมีผลงานทั้งบทละคร เสภา นิราศ กาพย์ และกลอน


ความสัมพันธ์กับประเทศใกล้เคียง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศใกล้เคียง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีปรากฏหลักฐานเป็น 3 ลักษณะดังนี้
           1. ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน
ประเทศที่เป็นมิตรต่อไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ จีน มีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า ฝ่ายไทยส่งเครื่องราชบรรณการไปถวายกับพระเจ้ากรุงจีนเพื่อให้จีนอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า ฝ่ายไทยส่งเครื่องราชบรรณการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน เพื่อให้จีนอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ ที่เรียกว่า “จิ้มก้อง” การค้าทางเรือสำเภาระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปด้วยดีตลอดมา
            2. ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นคู่สงครามกัน
2.1 พม่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยกับพม่าทำสงครามกันถึง 10 ครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยกับพม่า คือ สงครามเก้าทัพ พ.ศ.2328
2.2 ญวน ไทยกับญวนทำสงครามยื้ดเยื้อเป็นเวลานานถึง 14 ปีโดยมีสาเหตุเกิดจากการแข่งขันขยายอำนาจในดินแดนเขมร 
            3. ความสัมพันธ์ที่มีต่อประเทศราช
3.1 เขมร ไทยได้ปกครองเขมรเป็นประเทศราชตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทางฝ่ายไทยให้การอุปการะเจ้านายเขมรที่ตกทุกข์ได้ยาก และใช้นโยบายผูกน้ำใจชาวเขมรให้จงรักภักดีต่อไทย มิให้เอนเอียงเข้าฝ่ายญวน
3.2 ลาว ในสมัยรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 ไทยปฏิบัติต่อลาวอย่างเป็นมิตรในฐานะพี่บ้านเมืองน้อง แต่ในตอต้นรัชกาลที่ 3 เกืดกบฏเจ้าอนุวงค์แห่งนครเวียงจันทน์ในพ.ศ. 2369 แต่ไทยสามารถปราบปรามได้
3.3 ล้านนา รัชกาลที่ 1 ทรงดำเนินนโยบายปกครองล้านนาอย่างเป็นมิตรเพื่อผูกใจให้จงรักภักดีต่อกรุงเทพ ฯ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้รับยกย่องให้มีพระเกียรติเสมอพระเจ้าแผ่นดิน
3.4 หัวเมืองมลายู ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไทยต้องยกย่องกองทัพไปปราบปรามหัวเมืองมลายูที่ตั้งแข็งเมืองเป็นอิสระ และมีเหตุการณ์ยุ่งยากในหัวเมืองมลายูอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเมือง ไทรบุรี


 การสงครามกับพม่า
        1. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยกับพม่าทำสงคราม รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง เฉพาะในรัชกาลที่ 1มีถึง 7 ครั้งเนื่องจากพระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่า ต้องการทำลายอาณาจักรไทยไม่ให้ฟื้นตัวขึ้นอีก การสงครามส่วนใหญ่ จึงปรากฏในลักษณะที่พม่าเป็นฝ่ายรุกรานไทย
        2.สงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งสำคัญคือ สงคราม 9 ทัพ พ.ศ. 2328 โดยพม่ายกทัพมาถึง9ทัพ กระจายกำลังเข้ามาตามเส้นทางต่างๆ จากภาคเหนือจนถึงปักษ์ใต้ แต่รัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีการรบใหม่ โดยไม่ตั้งรับในกรุงเหมือนที่เคยทำให้สมัยอยุธยา แต่ให้จัดทัพออกไปขับไล่ข้าศึกถึงชายแดน พม่าจึงเป็นฝ่ายปราชัยถูกทัพไทยตีแตกถอยร่นกลับไป
        3.ผลของสงคราม 9 ทัพ ส่งผลทางด้านจิตวิทยาทำให้คนไทยเลิกกลัวพม่า ทหารและประชาชนมีขวัญกำลังใจดี มีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำและมีความกล้าหาญในการสู้กับพม่า ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สู้รบทางภาคใต้ ได้เกิดวีรสตรี 2 ท่าน คือ คุณหญิงจัน(ท้าวเทพกษัตรีย์)และ นางมุก (ท้าวศรีสุนทร) นำไพร่พลราษฎรต่อสู้กับข้าศึกอย่างเข้มแข็ง ป้องกันเมืองถลาง(ภูเก็ต) ไว้ได้
        4. สงครามท่าดินแดง พ.ศ. 2329 เป็นสงครามระหว่างไทยพม่าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยพระเจ้าปะดุงต้องการแก้ตัวจากการปราชัยในคราวสงคราม 9 ทัพ มีการเตรียมเสบียงสะสมอาหารอย่างพร้อมมูลและมีไพร่พลมากกว่าครั้งก่อน รัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้ยกกำลังไปขับไล่พม่าที่ท่าดินแดง (กาญจนบุรี) พม่าพ่ายแพ้และสูญเสียอย่างยับเยิน ทำให้พม่าไม่คิดยกทัพมาตีไทยอีกเลย
        5. สงครามไทยกับพม่าสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากพม่ามีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับอังกฤษ และเกิดสงครามระหว่าง พ.ศ.2367-2369 ซึ่งพม่าเป็นฝ่ายปราชัยต้องเสียดินแดนหัวเมืองมอญให้กับอังกฤษ ทำให้พม่ากับไทยไม่อยู่ในฐานะคู่สงครามกันอีกเลย


ความสัมพันธ์กับลาว
        1. ลาวมีฐานะเป็นประเทศราชของไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาณาจักรหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ตกอยู่ในอำนาจของไทยโดยเจ้าเมืองลาวทั้งสามพยายามแยกตัวเป็นอิสระ ดังเช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าอนุวงค์แห่งนครเวียงจันทน์มีใจฝักใฝ่กับญวนและพยายามตีตัวออกห่างจากไทยโดยหวังจะใช้อิทธิพลญวนมาถ่วงดุลอำนาจกับไทย
        2.กบฏเจ้าอนุวงค์ พ.ศ. 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีข่าวลือว่าอังกฤษเตรียมจะทำสงครามกับไทย เข้าอนุวงค์แห่งนครเวียนจันทน์จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีในไทยทางหัวเมืองภาคอีสานขณะที่เดินทัพมาถึงนครราชสีมาคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมาได้ออกอุบายขับไล่ข้าศึกออกไป สามารถป้องกันเมืองเอาไว้ได้ในที่สุดพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทรเดชา) เป็นแม่ทัพปราบกบฏได้สำเร็จลาวจึงยังอยู่ใต้อำนาจของไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 4 ไทยจึงเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส


ความสัมพันธ์กับล้านนาไทย
        1.หัวเมืองล้านนาไทยเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ฝาน น่าน และเชียงแสน พม่าจะใช้ล้านนาเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารหรือฐานที่มั่นในการรุกรานในไทย ดังนั้นพระราโชบายของรัชกาลที่ 1 คือต้องรักษาดินแดนล้านนาเอาไว้ให้ขึ้นอยู่กับไทยตลอดไป
         2.การดำเนินนโยบายผูกความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับล้านนาไทย รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยากาวิละ เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ มีความสัมพันธ์เสมือนหนึ่งเป็นพระญาติของราชวงค์จักรี ทำให้ล้านนาไทยมีความจงรักภักดีต่อกรุงเทพฯ มากกว่าพม่าการปกครองหัวเมืองล้านนาไทยจึงสงบราบรื่นตลอดราชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ความสัมพันธ์กับเขมร 
        1.เขมรเป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สภาพการเมืองภายในของเขมรมักประสบปัญหาความยุ่งยากอันเกิดจากการแย่งชิงอำนาจในหมู่เจ้านายเขมรอยู่เนืองๆ เป็นช่องทางให้ไทยและญวนเข้าแทรกแซงในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงอุปการะสมเด็จนักองเอง เจ้านายเขมรเป็นราชบุตรบุญธรรม และสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ปกครองเขมรในฐานะประเทศราชย์ของไทย
        2. เขมรเริ่มตีตัวออกห่างไทยในสมัย รัชกาลที่ 2 ในรัชกาลที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เขมรมีปัญหาขัดแย้งกันเอง กรุงเทพฯจึงจึงส่งกองทัพเข้าไปรักษาสถานการณ์ สมเด็จพระอุทัยราชาธิราช เจ้านายเขมรที่ฝักใฝ่กับญวนจึงหลบหนีไปพึ่งญวน และเป็นสาเหตุให้ญวนเข้ามามีอิทธิพลเหนือเขมรแข่งกับไทยตั้งแต่บัดนั้น
        3.เขมรยังตกอยู่ในอำนาจของไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 นักองด้วง ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายไทยให้เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี พระเจ้ากรุงกัมพูชา ใน พ.ศ.2391 โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทั้งไทยและญวนพร้อมกัน ในที่สุดต้องสูญเสียดินแดนเขมรให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 4


 ความสัมพันธ์กับญวน
        1. ไทยกับญวนแข่งขันกันขยายอำนาจในเขมร มีการทำสงคราม 3 ครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยืดเยื้อกินเวลานานถึง 14 ปี (พ.ศ. 2376 – 2388) เป็นสงครามในแผ่นดินเขมรทั้งหมด
        2.รัชกาลที่ 2 ทรงอุปการะองเชียงสือ เนื่องจากเกิดกบฏไกเซินขึ้นในดินแดนญวน รัชกาลที่ 1 โปรด ฯ ชุบเลี้ยงไว้ และส่งกองทัพไปช่วยปราบปรามกบฏ 2 ครั้ง (พ.ศ. 2326 – 2327) แต่ไม่สำเร็จ
        3.องเชียงสือ หลบหนีออกจากกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2327 และกลับไปกู้บ้านเมืองได้สำเร็จใน พ.ศ.2345 ดดยได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส องเชียงสือได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเวียตนามยาลอง และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทยตลอดรัชกาลที่ 1 
        4. ไทยกับญวนเริ่มบาดหมางในรัชกาลที่ 2 เมื่อเจ้านายเขมรขัดแย้งแย่งชิงอำนาจกัน ฝ่ายที่นิยมญวนหลบหนีไปพึ่งญวน และขอกำลังจากญวนมาช่วยเป็นสาเหตุให้ไทยกับญวนต้องเผชิญหน้ากัน ทำสงครามรบพุ่งกันในดินแดนเขมรครั้งใหญ่ๆ ถึง 3 ครั้ง ไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะกันเด็ดขาด


ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
        1. รัชกาลที่ 1 ยกทัพไปตีเมืองปัตตานี หัวเมืองมลายู ได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี กลันตันและตรังกานู เคยเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ใน พ.ศ. 2301 จึงแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม รัชกาลที่ 1 จึงโปรดฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานี หัวเมืองมลายูอื่นๆ เกิดความเกรงใจจึงยอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราชของไทยดังเดิม
2. หัวเมืองมลายูก่อกบฏหลายครั้ง ตลอดรัชสมัยตอนต้น เกิดกบฏในหัวเมืองมลายูหลายครั้ง แต่ทัพไทยจากกรุงเทพฯ ยกกำลังไปปราบได้ทุกครั้ง ไทยต้องดำเนินนโยบายลดอำนาจสุลต่านแต่ละเมืองให้น้อยลง และสร้างเสริมความเข้มแข็งหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น เมืองสงขลา และนครศรีธรรมราช ฯลฯ เพื่อให้คอยควบคุมหัวเมืองมลายูมิให้คอยก่อการกบฏ


ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
        1. ลักษณะความสัมพันธ์ยังไม่ขยายตัวมากนัก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศตะวันตกยังไม่แน่นแฟ้น เนื่องจากฝ่ายไทยมีความหวาดระแวงเกรงภัยคุกคามจากชาติตะวันตก และยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก
        2. ประเทศสำคัญ 3 ประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา สินค้าที่ไทยต้องการจากประเทศตะวันตกมากที่สุดในขณะนั้น คือ อาวุธปืน


ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่การค้าของโปรตุเกสในไทยไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
        สมัยรัชกาลที่ 1 โปรตุเกสแต่งทูตอัญเชิญพระราชสาสน์มาเจริญไมตรีต่อไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 และขอตั้งโรงสินค้าที่กรุงเทพฯ ทางฝ่ายไทยให้การต้อนรับอย่างดี 
        สมัยรัชกาลที่ 2 ฝ่ายไทยซื้ออาวุธปืนจากโปรตุเกสไว้คอยป้องกันพระนครจำนวนหนึ่งและอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกตเข้ามาค้าขายในเมืองไทยและตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ ได้ คาโลส เดอ ซิลเวรา เป็นกงสุลประจำเมืองไทยเป็นคนแรก ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น “หลวงอภัยพานิช”


ความสัมพันธ์กับอังกฤษ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งด้านการค้าและการเมือง

        1. สมัยรัชกาลที่ 1 พระยาไทรบุรีให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก (ปีนัง) เพื่อหวังพึ่งอังกฤษให้พ้นจากอำนาจของไทย ฝ่ายอังกฤษเมื่อรู้ว่าเป็นดินแดนที่อยู่ในความปกครองของไทยจึงส่ง ฟรานซิสไลท์ เป็นทูตมาเจริญไมตรีด้วย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาราชกปิตัน” ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ได้รับเกียรติดังกล่าว

        2. สมัยรัชกาลที่ 2 อังกฤษส่งทูตชื่อ จอห์น ครอเฟิร์ต มาเจรจาตกลงเรื่องการค้าใน พ.ศ. 2364 โดยขอให้ไทยเก็บสินค้าขาเข้าในอัตราที่แน่นอน และยกเลิกการผูกขาดของพระคลังสินค้า และขอให้ไทยยอมรับอธิปไตยของไทรบุรี
การเจรจาของทั้งสองฝ่ายไม่ประสบควาสำเร็จ เพราะสาเหตุ ดังนี้
(1) ไทยไม่ต้องการสูญเสียผลประโยชน์จาการผูกขาดการค้า
(2) ไทยไม่ยอมรับเอกราชอธิปไตยของเมืองไทรบุรีตามที่อังกฤษร้องขอ
(3) ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีระหว่างกันและกัน
(4) ความไม่เข้าใจในภาษา ต้องใช้ล่ามแปล ทำให้การสื่อความหมายคลาดเคลื่อนไป

        3. สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยกับอังกฤษบรรลุข้อตกลงในการทำสัญญาทางการค้าระหว่างกันที่เรียกว่า“สัญญาเบอร์นี”เมื่อ พ.ศ. 2369 ถือว่าเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่เน้นผลประโยชน์ทางด้านการค้าเป็นสำคัญ และเป็นสัญญาที่ฝ่ายไทยไม่เสียเปรียบ
สาระสำคัญของสัญญาเบอร์นี (1) กำหนดอัตราภาษีปากเรือให้แน่นอน เก็บวันละ 1,700 บาท
(2) อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายสินค้าได้ทั่วราชอาณาจักร
(3) ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในไทย และห้ามนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ออกนอกพระราชอาณาจักร 
(4) พ่อค้าอังกฤษต้องยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมายและประเพณีไทย
(5) อังกฤษต้องยอมรับสิทธิและอธิปไตยของไทยเหนือไทรบุรี กลันตัน และ ตรังกานู


ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
        1.การติดต่อการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเริ่มอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพ่อค้าอเมริกันชื่อ กัปตันเฮล เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2364 ได้นำปืนคาบศิลามาถวาย 500 กระบอก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงภักดีราชกปิตัน”
        2.มิชชันนารีชาวอเมริกันรุ่นแรกเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2371 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้นำวิทยาการสมัยใหม่ของโลกตะวันตกเข้ามาเผยแพร่
        3.สนธิสัญญาทางการค้าฉบับแรกที่ทำกับสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2375 เอดมันด์ รอเบิร์ตส์ เป็นทูตเข้ามาเจรจาทางการค้ากับไทย โดยยึดเอาสนธิสัญญาเบอร์นีที่ไทยทำกับอังกฤษเป็นหลักในการเจรจา


การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาของประเทศตะวันตก
        1.การขอแก้ไขสนธิสัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2393 โจเซฟ บัลเลสเตียร์ เป็นทูตอเมริกัน เข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ทำไว้กับไทย เช่น ขอลดอัตราภาษีปากเรือ ขอให้ไทยยกเลิกระบบผูกขาดการค้า และเสนอขอตั้งสถานกงสุลอเมริกันในเมืองไทย เป็นต้น แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
        2.การเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาของรัฐบาลอังกฤษ ใน พ.ศ. 2393 อังกฤษได้แต่งตั้งให้ เซอร์เจมส์ บรุค เดินทางเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นีที่ทำไว้กับไทยเช่นเดียวกัน เช่น ขอให้ลดภาษีปากเรือ และขอให้ไทยยกเลิกระบบผูกขาดการค้า ให้ซื้อขายสินค้ากันได้โดยเสรี เป็นต้น แต่ก็ไม่บรรลุข้อตกลงเช่นเดียวกัน
        3.สาเหตุที่การเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาต้องล้มเหลว เนื่องจากรัฐบาลไทย ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ดำเนินนโยบายต่อประเทศตะวันตกอย่างระมัดระวังรอบคอบยิ่งขึ้น
        4.ผลของการเจรจาที่ล้มเหลว เซอร์เจมส์ บรุค เป็นทูตอังกฤษคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษโดยตรง มิใช่ทูตที่ส่งมาจากผู้สำเร็จราชการ
ที่อินเดียเหมือนคนก่อนๆ ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับไทยในการเจรจาครั้งต่อไป
ที่มา : https://sites.google.com/a/srisawat.ac.th/prawatisastr-thiy/home/smay-ratnkosinthr-txn-tn

Comments

Popular posts from this blog

สมัยอยุธยา

สมัยรัตนโกสินทร์